วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ดาวอังคาร (Mars)

ดาวอังคาร






ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 ชื่อละตินของดาวอังคาร (Mars) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน หรือตรงกับเทพเจ้า Ares ของกรีก เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" หรือ "Red Planet" (ความจริงมีสีค่อนไปทางสีส้มอมชมพูมากกว่า) สัญลักษณ์แทนดาวอังคาร คือ ♂ เป็นโล่และหอกของเทพเจ้ามาร์ส ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและดีมอส โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน (terrestrial planet) มีชั้นบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 มีบทความ 3 บทความตีพิมพืลงในนิตรสาร "Nature" เกี่ยวกับหลักฐานของหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่มหึมา โดยมีความกว้าง 8,500 กิโลเมตร ยาว 10,600 กิโลเมตร[3][4] นอกจากนั้นสิ่งที่ดาวอังคารมีและคล้ายคลึงกับโลกก็คือ คาบการหมุนรอบตัวเองและฤดูกาล

โครงสร้างดาวอังคาร
ดาวอังคารมีขนาดเล็กกว่าโลกราวครึ่งหนึ่ง มีความหนาแน่นน้อยกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่มีพื้นผิว เป็นดินหินแข็งอย่างโลก แสดงว่าแกนในคงมีเหล็กน้อยกว่า ห่อหุ้มด้วยชั้นหินและ มีผิวเปลือกบาง พื้นผิวดาวอังคารเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต มีหุบเหว ร่องทางยาวและที่ราบ เป็นหย่อม ๆ มีภูเขาไฟ หลายแห่งโดดเด่นมาก เช่น ภูเขาไฟโอลิมปัส สูงที่สุดในระบบสุริยะ ความสูง 24 กิโลเมตร ฐานรอบ ภูเขาไฟกว้าง 600 กิโลเมตรและสูงเป็น 3 เท่าของยอดเขา เอเวอร์เรสบนโลก

ส่วนทางซีกใต้มีหลุมอุกกาบาตใหญ่มาก ชื่อ เฮลลาส (Hellas) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2000 กิโลเมตร ลึก 6 กิโลเมตร ลักษณะเด่นมากบนพื้นผิวดาวอังคารคือ หุบเหวมาริเนอร์ (Mariner) ลึกราว 2-7 กิโลเมตร กว้างราว 4,000 กิโลเมตร เป็นหุบเหวเหยียดยาวผ่ากลางดวงบริเวณ แถบเส้นศูนย์สูตรของดาวอังคาร นอกจากนั้นยังมีพื้นที่ราบลักษณะคล้ายเกิดจากน้ำท่วม บางแห่งมีลักษณะคล้ายซากของชายฝั่งและท้องน้ำ พบซากของร่องทางน้ำไหลมากมายบนดาวอังคาร ทำให้สันนิษฐานว่าดาวอังคารคงเคยมีน้ำมาก่อน ในอดีตกาล

บรรยากาศ
บรรยากาศของดาวอังคารต่างจากบรรยากาศของโลก เพราะส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ถึง 95 % มีไนโตรเจน อาร์กอน และออกซิเจน เล็กน้อย มีน้ำอยู่ราว 1 ใน 1000 ของบรรยากาศ
โลก แต่ถึงกระนั้นก็ยังเกิดเมฆในบรรยากาศของดาวอังคาร
สภาวะอากาศบนดาวอังคารแปรเปลี่ยนไปตลอดปี ที่ขั้วทั้งสองของดาวอังคารมีน้ำแข็งตลอดเวลา ส่วนในฤดูหนาว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จับตัวแข็งขยายพื้นที่กว้างมากขึ้นที่ขั้วทั้งสอง ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์แห่งพายุฝุ่น อุณหภูมิและกระแสลมที่แปรเปลี่ยนไปทำให้มักเกิดพายุฝุ่น คละคลุ้งทั่วดวงดาวอังคารตลอดปี

บริวารดาวอังคาร
ดาวอังคารมีบริวาร 2 ดวง ชื่อ โฟบอส (Phobos) กับ ไดมอส (Deimos) พบเป็นครั้งแรกโดย
เอแสฟ ฮอล (Asaph Hall) ในปี พ.ศ.2420 เป็นดวงจันทร์ขนาดเล็ก พื้นผิวมืดคล้ำ รูปร่างคล้าย มันฝรั่ง อยู่ใกล้ ดาวอังคารมาก สันนิษฐานว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกดาวอังคารดูดจับไว้




โฟบอส มีขนาดประมาณ 20 X 28 กิโลเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 22 กิโลเมตร โคจรรอบ ดาวอังคารรอบละ 7 ชั่วโมง 39 นาที ซึ่งน้อยกว่าเวลาที่ดาวอังคารหมุนรอบตัวเอง ดังนั้น ถ้าเราอยู่บนดาวอังคาร จะเห็นโฟบอสขึ้นทางทิศตะวันตก และตกทางทิศตะวันออกถึงวันละ
3 รอบ โฟบอสอยู่ห่างจากศูนย์กลางดาวอังคารประมาณ 9,300 กิโลเมตร



ไดมอส เป็นดวงจันทร์ดวงเล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก
ศูนย์กลางดาวอังคารประมาณ 23,400 กิโลเมตร โคจรรอบดาวอังคารรอบละ 30 ชั่วโมง
18 นาที สำหรับคนที่อยู่บน ดาวอังคารเห็นโฟบอสกับไดมอส เคลื่อนที่สวนทางกันในท้องฟ้า

ลักษณะเฉพาะของวงโคจร

จุดเริ่มยุค J2000
ระยะจุด
ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด: 249,228,730 กม.
1.665 991 16 หน่วยดาราศาสตร์
ระยะจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: 206,644,545 กม.
1.381 333 46 หน่วยดาราศาสตร์
กึ่งแกนเอก: 227,936,637 กม.
1.523 662 31 หน่วยดาราศาสตร์
เส้นรอบวง
ของวงโคจร: 1.429 เทระเมตร
9.553 หน่วยดาราศาสตร์
ความเยื้องศูนย์กลาง: 0.09341233
คาบดาราคติ: 686.9601 วัน
(1.8808 ปีจูเลียน)
คาบซินอดิก: 779.96 วัน
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร: 24.077 กม./วินาที
อัตราเร็วสูงสุด
ในวงโคจร: 26.499 กม./วินาที
อัตราเร็วต่ำสุด
ในวงโคจร: 21.972 กม./วินาที
ความเอียง: 1.85061°
(5.65°; กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์)
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น: 49.57854°
ระยะมุมจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: 286.46230°
ดาวบริวารของ: ดวงอาทิตย์
จำนวนดาวบริวาร: 2
ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร: 6,804.9 กม.
(0.533×โลก)[2]
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวขั้ว: 6,754.8 กม.
(0.531×โลก)[2]
ความแป้น: 0.00736
พื้นที่ผิว: 1.448×108 กม.²
(0.284×โลก)
ปริมาตร: 1.638×1011 กม.³
(0.151×โลก)
มวล: 6.4185×1023 กก.
(0.107×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย: 3.934 กรัม/ซม.³
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร: 3.69 เมตร/วินาที²
(0.376จี)
ความเร็วหลุดพ้น: 5.027 กม./วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง: 1.025957 วัน
(24.622962 ชม.)
ความเร็วการหมุน
รอบตัวเอง: 868.22 กม./ชม.
ความเอียงของแกน: 25.19°
ไรต์แอสเซนชัน
ของขั้วเหนือ: 317.68143°
(21 ชม. 10 นาที 44 วินาที)
เดคลิเนชัน
ของขั้วเหนือ: 52.88650°
อัตราส่วนสะท้อน: 0.15
อุณหภูมิพื้นผิว:
เคลวิน
เซลเซียส ต่ำสุด เฉลี่ย สูงสุด
186 K 227 K 268 K
−87°C −46 °C −5 °C

ลักษณะเฉพาะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว: 0.7-0.9 กิโลปาสกาล
องค์ประกอบ: 95.32% คาร์บอนไดออกไซด์
2.7% ไนโตรเจน
1.6% อาร์กอน
0.13% ออกซิเจน
0.07% คาร์บอนมอนอกไซด์
0.03% ไอน้ำ
0.01% ไนตริกออกไซด์
2.5 ppm นีออน
300 ppb คริปตอน
80 ppb ซีนอน
30 ppb โอโซน
10.5 ppb มีเทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น