ดวงจันทร์ เป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร[1] หรือประมาณหนึ่งในสี่ของโลก (เป็นดาวเคราะห์บริวารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ) และมีระยะห่างจากโลกเฉลี่ย 384,403 กิโลเมตร ดวงจันทร์มีมวลเพียงประมาณ 2% ของมวลของโลก และแรงโน้มถ่วงเป็น 17% ของโลก สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ ☾ ปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) นีล อาร์มสตรอง และ บัซซ์ อัลดริน นักบินอวกาศขององค์การนาซา เป็นมนุษย์ 2 คนแรกที่เหยียบลงบนพื้นดินของดวงจันทร์ กฎหมายอวกาศถือว่าดวงจันทร์เป็นสมบัติร่วมกันของมนุษยชาติ ตามสนธิสัญญาที่ใช้บังคับกิจกรรมของรัฐบนดวงจันทร์ ดวงดาว และวัตถุอวกาศอื่นๆ ค.ศ. 1979
ไลเบรชันของดวงจันทร์ดวงจันทร์มีการหมุนรอบตัวเองแบบที่เรียกว่า การหมุนสมวาร (synchronous rotation) คือคาบการหมุนรอบตัวเองกับคาบการโคจรรอบโลกมีค่าเท่ากัน โดยดวงจันทร์ใช้เวลาโคจรรอบประมาณ 27.3 วัน เป็นผลให้ดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลก เรียกด้านที่หันเข้าหาเราว่า "ด้านใกล้" (near side) ส่วนด้านตรงข้าม คือ "ด้านไกล" (far side) เป็นด้านที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ อย่างไรก็ตาม ดวงจันทร์มีการแกว่งเล็กน้อย ทำให้เรามีโอกาสมองเห็นพื้นผิวดวงจันทร์ได้มากกว่า 50% อยู่เล็กน้อย ในอดีต ด้านไกลของดวงจันทร์เป็นด้านที่ลึกลับอยู่เสมอ จนกระทั่งถึงยุคที่เราสามารถส่งยานอวกาศออกไปถึงดวงจันทร์ได้ สิ่งหนึ่งที่แตกต่างระหว่างด้านใกล้กับด้านไกล คือ ด้านไกลไม่มีพื้นที่ราบคล้ำที่เรียกว่า "มาเร" (แปลว่าทะเล) กว้างขวางมากเหมือนอย่างด้านใกล้
กำเนิดดวงจันทร์และธรณีวิทยา
ในยุคแรก ๆ คาดเดากันว่าดวงจันทร์เคยเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกโลก แต่เปลือกโลกส่วนนั้นได้กระเด็นออกไปโดยมีสาเหตุจากแรงหนีศูนย์กลาง ทิ้งร่องรอยเป็นแอ่งของมหาสมุทรขนาดใหญ่บนโลก อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะโลกจะต้องหมุนรอบตัวเองเร็วมาก บางคนบอกว่าดวงจันทร์อาจก่อตัวขึ้นที่อื่น แต่พลัดหลงมาอยู่ใกล้โลกจึงถูกโลกจับไว้เป็นดาวบริวาร
บางคนเสนอว่า โลกและดวงจันทร์อาจเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กันขณะที่ระบบสุริยะก่อตัว แต่ทฤษฎีนี้ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหล็กในดวงจันทร์พร่องไปไหน อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า ดวงจันทร์อาจก่อตัวจากการสะสมหลอมรวมของดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็ก
ทฤษฎีที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ทฤษฎีการชนครั้งใหญ่ กล่าวว่ามีวัตถุขนาดดาวอังคารโคจรมาชนโลก ในช่วงที่โลกกำลังก่อตัวขึ้นใหม่ ๆ ทำให้เนื้อโลกบางส่วนที่ยังร้อนอยู่กระเด็นออกไป และรวมตัวกันเป็นดวงจันทร์
แรงไทดัลทำให้ดวงจันทร์มีรูปร่างเป็นทรงรีอยู่เล็กน้อย โดยมีแกนหลัก (แกนด้านยาว) ของวงรีชี้มายังโลก
พื้นผิวของดวงจันทร์
ดวงจันทร์ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองที่ได้จังหวะพอดีกับวิถีการโคจรรอบโลก ซึ่งเมื่อเรามองดวงจันทร์จากพื้นโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียวตลอดเวลา ในประวัติศาสตร์ยุคแรกของดวงจันทร์ การหมุนของมันช้าและกลายเป็นถูกล็อกอยู่ในลักษณะนี้ เป็นผลมาจากปรากฏการณ์ความฝืด และมีความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงบนโลก
เมื่อนานมาแล้ว ขณะที่ดวงจันทร์ยังคงหมุนเร็วกว่าในปัจจุบัน รอบโป่งในปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงมาก่อนแนวโลก-ดวงจันทร์ เพราะว่ามันไม่สามารถดึงรอยโป่งของมันกลับคืนได้อย่างรวดเร็วพอที่จะรักษาระยะของรอยโป่งระหว่างมันกับโลก การหมุนของมันขจัดรอยโป่งนอกเหนือจากแนวโลก-ดวงจันทร์ รอยโป่งที่อยู่นอกเส้นโลก-ดวงจันทร์นี้ทำให้เกิดการบิด ซึ่งลดความเร็วของการหมุนของดวงจันทร์ลง เมื่อการหมุนของดวงจันทร์ช้าลงจนเหมาะสมกับการโคจรรอบโลก เมื่อนั้นรอยโป่งของมันจึงหันหน้าเข้าหาโลกเสมอ รอยโป่งอยู่ในแนวเดียวกับโลก และรอยบิดของมันก็จึงหายไป นี่คือเหตุผลว่าทำไมดวงจันทร์จึงใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองพอๆ กับการโคจรรอบโลก
มีความผันผวนเล็กน้อย (ไลเบรชัน) ในมุมองศาของดวงจันทร์ซึ่งเราได้เห็น เราจึงมองเห็นพื้นผิวของดวงจันทร์ทั้งหมดประมาณ 59% ของพื้นผิวทั้งหมดของดวงจันทร์
ดวงจันทร์ด้านใกล้ (ด้านที่มองเห็นจากโลก) ดวงจันทร์ด้านไกล (ด้านที่มองไม่เห็นจากโลก)
ด้านที่มองเห็นจากโลกจะถูกเรียกว่า "ด้านใกล้" และด้านที่อยู่ตรงข้ามเรียกว่า "ด้านไกล" ด้านไกลของดวงจันทร์ต่างจากด้านมืดของดาวพุธคือ ด้านมืดของดาวพุธเป็นด้านที่ไม่ถูกแสงอาทิตย์ส่องเลย แต่ด้านไกลของดวงจันทร์นั้นบางครั้งก็เป็นด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์และหันหน้าเข้าหาโลก ด้านไกลของดวงจันทร์ได้ถูกถ่ายรูปโดยยานลูน่า 3 ของโซเวียตในปี 1959 หนึ่งในลักษณะภูมิประเทศที่ทำให้สังเกตได้ว่าเป็นดวงจันทร์ด้านไกลคือมันมีที่ราบคล้ำหรือ "มาเร" น้อยกว่าด้านใกล้มาก
โครงสร้างทางกายภาพ
ดวงจันทร์เป็นดาวเคราะห์ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบอันหลากหลาย ที่มีความแตกต่างทางเคมีภูมิวิทยาอย่างชัดเจนระหว่างส่วนของพื้นผิว ส่วนของเปลือก และส่วนของแกน เชื่อว่าลักษณะทางโครงสร้างเช่นนี้เป็นผลมาจากการก่อตัวขึ้นเป็นส่วนๆ จากทะเลแมกม่าที่เกิดขึ้นหลังจากการกำเนิดดาวเคราะห์ไม่นานนัก คือราว 4.5 พันล้านปีที่แล้ว พลังงานที่ใช้ในการหลอมเหลวผิวชั้นนอกของดวงจันทร์เชื่อว่าเกิดจากการปะทะครั้งใหญ่ ซึ่งให้เกิดระบบการโคจรระหว่างโลกกับดวงจันทร์ขึ้น
ความเชื่อของมนุษย์ต่อดวงจันทร์
ชาวตะวันตกมีเทพนิยายกรีก ที่มี อาเทมีส (Artemis) และ เซเรเน่ เทพีแห่งดวงจันทร์ และชาวโรมันมี เทพีลูน่า เป็นเทพีแห่งดวงจันทร์เช่นกัน ส่วนทางตะวันออกเช่น จีน มีเทพธิดาฉางเอ๋อ เป็นเทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ในโหราศาสตร์ไทยมี พระจันทร์ เป็นเทวดาประจำวันจันทร์ และชาวญี่ปุ่น มีการมองดวงจันทร์ว่ามีกระต่ายตำข้าวอยู่บนดวงจันทร์
สถานภาพทางกฎหมาย
ถึงแม้ว่าธงจำนวนมากของสหภาพโซเวียตจะถูกโปรยโดยยานลูน่า 2 ในปี 1959 และภายหลังภารกิจลงจอด และธงชาติสหรัฐอเมริกาก็ถูกปักไว้เป็นสัญลักษณ์บนดวงจันทร์ ไม่มีชาติใดได้ครอบครองความเป็นเจ้าของของส่วนใดส่วนหนึ่งของพื้นผิวดวงจันทร์เลย โซเวียตและสหรัฐต่างก็อยู่ร่วมกันในสนธิสัญญาอวกาศนอก ซึ่งให้ดวงจันทร์อยู่ภายใต้วงอำนาจเดียวกันกับเขตน่านน้ำสากล (สาธารณสมบัติ) สนธิสัญญานี้ยังจำกัดให้มีการใช้ดวงจันทร์เพื่อจุดประสงค์แห่งสันติภาพ ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นการห้ามการติดตั้งทหารและอาวุธอำนาจทำลายล้างสูงอีกด้วย (รวมไปถึงอาวุธนิวเคลียร์)
สนธิสัญญาฉบับที่ 2 สนธิสัญญาดวงจันทร์ มีจุดประสงค์เพื่อที่จะจำกัดการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติบนดวงจันทร์โดยชาติเพียงชาติเดียว แต่ก็ยังไม่มีชาติใดในกลุ่ม Space-faring nations เซ็นสนธิสัญญานี้เลย เอกชนหลายๆ แห่งได้ทำการครอบครองดวงจันทร์ทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง แม้ว่าจะไม่มีผู้ใดจะพิจารณาความน่าเชื่อถือก็ตาม
ศัพทมูลวิทยา
คำว่าจันทร์นั้นเป็นคำศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต(चंद्र อ่านว่า จัน-ดระ หรือคนไทยเราเรียกว่า จัน-ทระ) ซึงหมายถึงพระจันทร์.
ไม่เหมือนกับดวงจันทร์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะ เพราะเมื่อเราพูดถึง "ดวงจันทร์" ก็จะหมายถึง ดาวบริวารที่โคจรรอบโลกของเรานั่นเอง
คำว่า ดวงจันทร์ หรือ moon เป็นคำภาษาเยอรมัน ตรงกับคำภาษาลาติน คือ mensis เป็นคำที่แยกออกมาจากรากภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม และเป็นตัวแทนของการนับเวลา ซึ่งรำลึกถึงความสำคัญของมัน คือ วันจันทร์ ในภาษาอังกฤษ การเรียกดวงจันทร์มีมาจนถึงปี 1665 เมื่อมีการค้นพบดาวบริวารดวงใหม่ของดาวเคราะห์ดวงอื่น บางครั้งดวงจันทร์จึงถูกเลี่ยงไปใช้ชื่อในภาษาลาตินของมันแทน คือ luna เพื่อที่จะแยกมันออกจากดาวบริวารอื่นๆ
ลักษณะเฉพาะของวงโคจร
ระยะจุดใกล้โลกที่สุด: 363,104 กม.
0.0024 หน่วยดาราศาสตร์
ระยะจุดไกลโลกที่สุด: 405,696 กม.
0.0027 หน่วยดาราศาสตร์
กึ่งแกนเอก: 384,399 กม.
(0.00257 หน่วยดาราศาสตร์)
เส้นรอบวง
ของวงโคจร: 2,413,402 กม.
(0.16 หน่วยดาราศาสตร์)
ความเยื้องศูนย์กลาง: 0.0549
เดือนทางดาราคติ: 27.321582 วัน
(27 วัน 7 ชม. 43.1 นาที)
เดือนจันทรคติ: 29.530588 วัน
(29 วัน 12 ชม. 44.0 นาที)
เดือนอะโนมาลิสติก: 27.554550 วัน
เดือนดราโคนิก: 27.212221 วัน
เดือนทรอปิคัล: 27.321582 วัน
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร: 1.022 กม./วินาที
อัตราเร็วสูงสุด
ในวงโคจร: 1.082 กม./วินาที
อัตราเร็วต่ำสุด
ในวงโคจร: 0.968 กม./วินาที
ความเอียง: 5.145° กับสุริยวิถี (ระหว่าง 18.29°
และ 28.58° กับศูนย์สูตรโลก)
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น: ถอยหลัง 1 รอบใน 18.6 ปี
ระยะมุมจุด
ใกล้โลกที่สุด: ไปข้างหน้า 1 รอบใน 8.85 ปี
ดาวบริวารของ: โลก
ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย: 3,474.206 กม.
(0.273×โลก)
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร: 3,476.28 กม.
(0.273×โลก)
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวขั้ว: 3,471.94 กม.
(0.273×โลก)
ความแป้น: 0.00125
เส้นรอบวงตามแนวศูนย์สูตร: 10,916 กม.
พื้นที่ผิว: 3.793×107 กม.²
(0.074×โลก)
ปริมาตร: 2.1958×1010 กม.³
(0.020×โลก)
มวล: 7.3477×1022กก.
(0.0123×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย: 3,346.4 กก./เมตร³
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร: 1.622 เมตร/วินาที²
(0.1654 จี)
ความเร็วหลุดพ้น: 2.38 กม./วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง: 27.321582 วัน (การหมุนสมวาร)
ความเร็วการหมุน
รอบตัวเอง: 4.627 เมตร/วินาที
ความเอียงของแกน: 1.5424° (กับสุริยวิถี)
ความเอียงแกน: 6.687° (กับระนาบวงโคจร)
อัตราส่วนสะท้อน: 0.12
อุณหภูมิพื้นผิว:
ศูนย์สูตร
85°N ต่ำสุด เฉลี่ย สูงสุด
100 K 220 K 390 K
70 K 130 K 230 K
โชติมาตรปรากฏ: −12.74
ขนาดเชิงมุม: ตั้งแต่ 29′ถึง 33′
ลักษณะเฉพาะของบรรยากาศ
ความหนาแน่นบรรยากาศ: 107 อนุภาคต่อ ซม.³ (กลางวัน)
105 อนุภาคต่อ ซม.³ (กลางคืน)
จากเวปวิกิพีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น